2008-12-30

กล้วย กับ นม ช่วยลดความเครียด

กล้วย กับ นม ช่วยลดความเครียด

ภาวะเครียด? เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการฆ่าตัวตายในสังคมปัจจุบัน โดยกรมสุขภาพจิตชี้ว่า ในรอบ40 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนฆ่าตัวตายมีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 60% ซึ่งเป็นการสวนทางกันอย่างสุดขั้วระหว่างความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความตกต่ำของภาวะจิตใจ

ภาวะเครียดถือเป็นปัญหาของคนเมืองที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ภาวการณ์ปรับตัวที่ผิดปกติ โดยตั้งแต่ช่วงหลังภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก มีผู้โทรมาขอคำปรึกษาแนะนำทางโทรศัพท์จากหน่วยงานให้บริการคำปรึกษาแนะนำทางโทรศัพท์เป็นจำนวนมาก โดยประเด็นที่ทำให้โทร.มามากที่สุดคือ ?รู้สึกเครียด?...และ ณ ปัจจุบัน โรคเครียดได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนี้

น.พ.พนมทวน ชูแสงทอง จิตแพทย์ และอาจารย์แพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล ให้ข้อมูลในงานสัมมนาพิเศษ ?สายสุขภาพไฟเซอร์กับเคล็ดลับฝ่าวิกฤติโรคเครียด? ว่า ภาวะเครียดเป็นเรื่องของจิตใจที่เกิดจากความตื่นตัว เตรียมเผชิญกับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่น่าพึงพอใจ หรือคาดไม่ถึง เป็นเรื่องที่เราเองคิดว่าหนักหนาสาหัสเกินกำลังความสามารถที่จะแก้ไขได้ ทำให้เกิดความรู้สึกหนักใจ กังวล ไม่สบายใจ หรือแม้แต่คับข้องใจ และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น หากว่าความเครียดนั้นมีมากและคงอยู่เป็นระยะเวลานาน

แต่หากเป็นความเครียดที่ไม่มากนัก จะเป็นแรงกระตุ้นที่ดี ช่วยให้คนเราเกิดแรงฮึด มุมานะที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่างๆ

ในทางตรงกันข้าม หากเรามีความเครียดมากมาย และไม่รู้จักผ่อนคลาย และหากปล่อยไว้นานเข้า อาจมีปัญหาความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจได้ในที่สุด ซึ่งสาเหตุของความเครียดมีสาเหตุ 3 ด้าน ได้แก่ สาเหตุทางด้านจิตใจ เช่น ความกลัวว่าจะไม่ได้ดังหวัง กลัวจะไม่ประสบความสำเร็จ หนักใจกังวลใจในงานที่ได้รับมอบหมาย หรือแม้แต่กลัวกังวลสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สาเหตุที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การเปลี่ยนช่วงวัย แต่งงาน การตั้งครรภ์ การเริ่มเข้าทำงานหรือการเปลี่ยนงาน เปลี่ยนที่เรียน สุดท้ายคือสาเหตุจากการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น การเจ็บไข้ต่างๆ โรคที่รุนแรง และเรื้อรัง หรือโรคที่คาดว่าถึงแก่ชีวิตในที่สุด

น.พ.พนมทวนให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า อาหารคลายเครียด (Food Therapy) คือหนึ่งในวิธีผ่อนคลายความเครียด โดยสารอาหารที่ช่วยลดระดับความเครียดคือ ทริปโตฟาน (1-2 กรัม ก่อนนอน) พบได้ในไข่ ถั่วเหลือง นมวัว เนื้อสัตว์วิตามินบี 6 (40 มิลลิกรัมต่อวัน) พบในธัญพืชต่างๆ ยีสต์ รำข้าว เครื่องใน เนื้อ ถั่ว ผัก วิตามินบี 3(1,000 มิลลิกรัมต่อวัน) พบในตับ เครื่องใน เนื้อ เป็ด ไก่ ปลา ถั่ว ยีสต์ สารอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม กระเทียมและดอกไม้จีน เป็นต้น

ทั้งนี้ เมนูอาหารคลายเครียดยอดฮิตคือ ช็อกโกแล็ตกับน้ำมะตูมจะช่วยลดอาการกระวนกระวายและอาการตึงเครียดได้ ส่วนกล้วยเชื่อมกับนมสด หากรับประทานก่อนนอนเป็นประจำทุกวันจะช่วยลดอาการตึงเครียดและทำให้นอนหลับสบาย (แต่หากเกรงว่ากล้วยเชื่อมจะทำให้อ้วน สามารถทานกล้วยสดแทนก็ได้เช่นกัน)

นอกจากอาหารคลายเครียดแล้ว การฝึกฝนให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง และการรู้จักปล่อยวาง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณมองทะลุ เข้าใจถึงเหตุและผลของการเกิดอารมณ์ได้เป็นอย่างดี และช่วยให้สามารถควบคุมความเครียดที่กำลังเกิด ณ ขณะนั้น อันจะส่งผลให้คุณไม่ต้องทุกข์ทรมานกับโรคเครียดอีกต่อไป

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

2008-12-25

กระเทียม ยาฆ่าเชื้อ ลดโคเลสอเตอรอล

กระเทียม ยาฆ่าเชื้อ ลดโคเลสอเตอรอล

กระเทียมเป็นส่วนหนึ่งในการปรุงอาหารไทยแทบทุกชนิด คนไทยทุกคนจึงรู้จักคุ้นเคยกับกระเทียมเป็นอย่างดี แต่ไม่ทุกคนที่จะรู้ว่ากระเทียมมีประโยชน์มากเพียงใด หากอ่านบทความนี้จบแล้ว เชื่อว่าหลายท่านที่ไม่รับประทาน หรือไม่ชอบกระเทียมคงหันมารับประทานกระเทียมอย่างแน่นอนที่เดียว

กระเทียม นอกจากจะเป็นเครื่องเทศให้กลิ่นหอม ช่วยกลบกลิ่นคาวในอาหารทั้งดิบและสุกแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ในกระเทียมมีสารอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อ มีกลิ่นฉุนจะเกิดเมื่อเราทุบหรือบดกระเทียม หากทิ้งไว้นานๆ หรือปรุงสุก ฤทธิ์ยาก็จะหายไป?

กระเทียมโทนที่มีกลิ่น และรสเผ็ดร้อนกว่ากระเทียมธรรมดาก็ให้ผลมากกว่าเช่นกัน จากการทดลองพบว่ากระเทียม สามารถฆ่าเชื้อได้ดีกว่าเพนิซิลลิน และเตตร้าซัยคลิน ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบที่ใช้โดยทั่วไป นอกจากนี้ยัง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคท้องเสีย, แผลติดเชื้อ, วัณโรค, ไทฟอยด์, เชื้อรา, กลากเกลื้อนด้วย


กระเทียมไม่ได้มีเพียงฤทธิ์ฆ่าเชื้อเท่านั้น ยังช่วยลดการกำเริบของโรคหัวใจอีกด้วย โดยออกฤทธิ์ช่วยลดโคเลสเตอรอล และเพิ่มสารสำคัญในเลือดบางตัวที่มีผลต่อการสลายลิ่มในเส้นเลือด ยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือดทำให้ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด พบว่า การทานกระเทียมสด 12 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ คนทั่วไปหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ควรรับประทานกระเทียมประมาณ 50 กรัม หรือ ประมาณ 15 กลีบต่อวัน มีการทดลองพบว่าการรับประทานกระเทียม 1 หัว (ประมาณ 9 กลีบ) ต่อวัน จะช่วยลดโคเลสเตอรอลได้โดยใช้เวลาประมาณ 4 เดือน และหลังจากโคเลสเตอรอลลดลงในระดับที่น่าพบใจแล้ว การรับประทานกระเทียมสดวันละ 2 กลีบ ก็สามารถป้องกันการเพิ่มของ
โคเลสเตอรอลได้


วิธีใช้กระเทียมรักษาอาการต่างๆ ก็ต่างกันไปตามสูตรและสถานที่ เช่น ใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย ใช้กลั้วคอเพื่อฆ่าเชื้อในปากและลำคอ รักษาทอนซิลอักเสบที่เริ่มเป็น และการใช้กระเทียมสดทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนและการทารอบๆ วันละ 3-4 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการทดลองที่น่าสนใจ คือ แพทย์ชาวจีนใช้กระเทียมสกัดฉีดเข้ากระแสเลือด เพื่อรักษาโรคสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus ซึ่งมาจากนกพิราบได้


ประโยชน์จากกระเทียมมากมายขนาดนี้ ท่านที่ไม่นิยมรับประทานกระเทยมก็คงจะหันมาสนใจบ้างแล้ว เริ่มง่ายๆ จากอาหารที่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบ เพราะอย่างถึงน้อย กระเทียมสุกจะไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแต่ช่วยลดโคเลสเตอรอลและป้องกันโรคหัวใจได้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด หนังสือ Critical Review in Food Science and Nutrition เคยทดลองและสรุปได้ในปี 1985 ว่า "ไม่พบว่าผลิตภัณฑ์สกัดของกระเทียมชนิดใด จะให้ผลการรักษาดีกว่ากระเทียมสด"

ที่มา : สถาบันการแพทย์แผนไทย

2008-12-23

กินเผ็ด ป้องกันโรค มีประโยชน์สารพัด

กินเผ็ด ป้องกันโรค มีประโยชน์สารพัด

พูดถึง พริก ทุกคนจะนึกถึงความเผ็ด หลายคนชอบกินอาหารรสเผ็ด แต่หลายคนไม่ชอบ ผู้อ่านรู้หรือไม่ว่านอกจากความเผ็ดแล้ว พริก มีประโยชน์อย่างไร

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า พริก มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยชาวโปรตุเกส สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หรือ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

ความเผ็ดของพริกมาจากสารชื่อ “แคป ไซซิน” พริกยังมีสารสำคัญอีกหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ธาตุเหล็ก และแคลเซียม

คนที่กินพริกนาน ๆ จะทำให้ติดเผ็ด จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า คนไทยกินพริกมากที่สุดเฉลี่ย 5 กรัมต่อวัน หรือ ประมาณ 1 ช้อนชา

ประโยชน์ของพริกมีหลายอย่าง เช่น ช่วยเพิ่มสารแห่ง ความสุข คือ “เอ็นโดร ฟิน” บรรเทาอาการ เจ็บปวด บรรเทา อาการไข้หวัด ลดน้ำมูก ลดปริมาณ คอเรสเตอรอล จากงานวิจัยของญี่ปุ่นพบว่า พริกช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายและช่วยในการเผาผลาญ มีประโยชน์เรื่องการควบคุมน้ำหนัก ขณะเดียวกันยังช่วยละลายเสมหะที่เหนียวข้นให้จางลง ช่วยให้ขับเสมหะออกมาได้ง่าย สำหรับผู้ป่วยหอบหืด พริกจะช่วยทำให้หลอดลมขยายตัวได้ดี ไม่หดเกร็ง ดังนั้นคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดกินพริกจะดี

การกินพริก ยังช่วยลดปริมาณสารที่ทำให้แก่ คือ อินซูลิน มีรายงานว่า 30 นาทีหลังกินพริก อินซูลินจะไม่ขึ้นเลย พออินซูลินไม่ขึ้น ก็จะไม่ทำให้รู้สึกอยากหวาน

นอกจากนี้วิตามินซีในพริก ยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคมะเร็ง จากผลการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า พริกยังช่วยในการสลายลิ่มเลือดด้วย นอกจากการบริโภคแล้ว พริกยังถูกนำมาทำเป็นเจล ใช้ทารักษาผิวหนังอักเสบ แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว เข่าอักเสบ เริม หรืองูสวัด

ส่วนที่หลายคนมีความเชื่อว่าการกินพริกมาก ๆ หรือ รับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารนั้น นพ.กฤษดา บอกว่า สารในพริกมีฤทธิ์เป็นกรดก็จริง แต่พริก ไม่ได้ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร น่าจะมาจากการกินอาหารมัน ๆ มากกว่า เช่น ข้าวขาหมู กว่าจะย่อยต้องใช้เวลา 2-3 ชม. ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร

แต่การกินอาหารเผ็ดจัด อาจทำให้เกิดอาการ เหมือนคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะสารในพริกซึ่งเป็นกรด จะไปทำให้หลอดอาหารหดเกร็ง ทำให้รู้สึกจุกแน่นลิ้นปี่

กรณีที่กินอาหารเผ็ดมาก ๆ วิธีแก้ คือ ต้องกินอาหารที่มัน ๆ เพราะ “สารแคปไซซิน” จะละลายได้ดีในไขมัน แต่ละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย การดื่มน้ำเย็นจะไม่ช่วยทำให้หายเผ็ด ถ้าจะแก้เผ็ดต้องดื่มนม หรือ ไอศกรีม ทั้งนี้ ถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ใช้ความมันจากกะทิมาดับเผ็ด เห็นได้จากการทำแกงเขียวหวาน หรือแกงต่าง ๆ ที่ใส่กะทิ

ข้อควรระวัง คือ ในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาหารรสเผ็ดจัด จะยิ่งทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนเด็กและคนแก่ ที่สำลักง่าย ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะถ้าสำลักเข้าหลอดลม กรดอาจจะไปกัดหลอดลม ทำให้เกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็ง ตีบ บวม หายใจไม่ออกได้

สรุปว่า การกินอาหารเผ็ด ๆ มีแต่ข้อดี แทบจะไม่มีข้อเสีย แต่ก็ควรระวังพริกป่น พริกซอง ที่อาจมีสารอะฟลาทอกซิน เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ.

2008-12-20

รักษาโรคหวัด ด้วยการดื่มน้ำผลไม้อุ่นๆ

รักษาโรคหวัด ด้วยการดื่มน้ำผลไม้อุ่นๆ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหวัด ต่างพากันยกนิ้วให้กับคำแนะนำของคนรุ่นย่ารุ่นยายที่สอนเอาไว้ว่า ให้ดื่มน้ำอุ่นจะได้หายเร็ว

นักวิจัยของศูนย์โรคหวัดธรรมดา มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ สหภาพแอฟริกาใต้ได้พบในการศึกษาว่า เครื่องดื่มที่เป็นน้ำผลไม้ที่ไม่มีแอลกอฮอล์อุ่นสัก 1 เหยือกจะช่วยบรรเทาอาการไอและสำลักลงได้ ผู้อำนวยการศูนย์ ศาสตราจารย์รอน เอกเคิล จึงได้ฉวยโอกาสแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ให้ดื่มน้ำผลไม้อุ่นๆ จะได้บรรเทาอาการลงได้ “มันน่าแปลกอยู่เหมือนกัน ที่เพิ่งมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ของผลดีในการดื่มเครื่องดื่มร้อน แก้หวัดขึ้นเป็นครั้งแรก” และเสริมว่าข้อดีของการดื่มน้ำผลไม้

นอกจากช่วยต่อสู้โรคภัยแล้ว มันยังถูกทั้งปลอดภัยและได้ผลดีอีกด้วยรายงานผลการศึกษาเปิดเผยอยู่ในวารสารทางวิชาการ “นาสิกวิทยา” ของอังกฤษ กล่าวว่า ได้ทดลองให้อาสาสมัครที่เป็นหวัด 30 คนดื่มน้ำแอปเปิ้ลและแบ็คเคอแรนต์พบว่า มันช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหล ไอจาม เจ็บคอ หนาวสั่นและเมื่อยล้า ลงได้ทันทีและคงอยู่นาน.

2008-12-19

สารพัดประโยชน์จาก...พริก

สารพัดประโยชน์จาก...พริก

พริก...ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ช่วยให้ระบบการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือลดปริมาณสารที่ขัดขวางระบบการหายใจ ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการไอ สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาหลายๆ ชนิด นอกจากนั้นสารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ในบริเวณเนื้อเยื่อบุผนังช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด

พริก...ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด หรือการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การบริโภคพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการอุดตันของเส้นเลือด นับเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว เนื่องจากพริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดความดัน เพราะว่าในพริกมีสารจำพวกเบตาแคโรทีนและวิตามินซี ซึ่งช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

พริก...ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันมิให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Low density lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein) มากขึ้น ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค

พริก...ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากพริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยปกป้องการเกิดโรคมะเร็งได้ วิตามินซียับยั้งการสร้างไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้ายได้

นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือสามารถยุติหรือขัดขวางบทบาทของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์จนเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด สารเบตาแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราการเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอด และในช่องปาก คนที่รับประทานผักที่มีสารเบตาแคโรทีนน้อย จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่รับประทานผักที่มีเบตาแคโรทีนสูงถึง 7 เท่าคุณสมบัติของสารเบตาแคโรทีนจะช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง สำหรับพริกบางชนิดที่มีสีม่วงจะมีสารพวกแอนโทไซยานิน ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้เช่นกัน

พริก...ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น ในปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ใช้บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคันและอาการผื่นแดงบริเวณผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น โรคเกาต์ หรือโรคข้อต่ออักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ผลการทดลองใหม่ๆยังบ่งชี้ว่าสารแคปไซซินช่วยลดอาการปวดศีรษะและไมเกรนลงได้

พริก...ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ดี เนื่องจากสารแคปไซซินมีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร เอนดอร์ฟิน (endorphin มาจากคำว่า endogenous morphine) ขึ้น สารเอนดอร์ฟินเป็นเปปไทด์ขนาดเล็ก (โปรตีนสายสั้นๆ) มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็สร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น ยิ่งรับประทานเข้าไปมากเท่าใด ร่างกายก็จะสร้างเอนดอร์ฟินขึ้นมามากขึ้นเท่านั้น ปกติร่างกายของคนเราจะสร้างสารเอนดอร์ฟินขึ้นภายหลังการออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายแม้จะทำให้ร่างกายเมื่อยล้า แต่ผู้ออกกำลังกายจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใส

ถ้าต้องการบรรเทาความเผ็ดของอาหารในปากควรดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบมากกว่าการดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำมีผลเพียงช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดก็ยังไม่ได้ลดลง เนื่องจากว่า ‘น้ำ’ ละลายสารดังกล่าวได้ไม่ดี...นั่นเอง

Tips เกณฑ์วัดระดับความเผ็ดร้อนสากลของพริกหรือผักผลไม้ที่มีสารแคปไซซินซึ่งให้ความเผ็ดร้อนนี้เรียกว่า สโกวิลล์ (Seoville) เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อของผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับนี้ ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ ลินคอร์น สโกวิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน โดยเขาได้คิดค้นระดับวัดความเผ็ดนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ขณะทำงานอยู่ที่บริษัทผลิตยา พาร์ก เดวิส เพื่อวัดความฉุนหรือความเผ็ดร้อนของพริกต่างชนิดกัน

สำหรับความเผ็ดที่วัดได้จากพริกขี้หนูสวนบ้านเรานั้นจะอยู่ที่ 50,000-100,000 สโกวิลล์ ในขณะที่สารแคปไซซินบริสุทธิ์นั้นมีค่าประมาณ 15,000,000-16,000,000 สโกวิลล์ ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลกก็คือ พริกฮาบาเนโร จากเรด ซาบีนา วัดค่าได้ถึง 350,000-577,000 สโกวิลล์...เลยทีเดียว

2008-12-17

อาหาร 6 ชนิด ที่ผู้หญิงควรจะกินให้เพิ่มขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดี

อาหาร 6 ชนิด ที่ผู้หญิงควรจะกินให้เพิ่มขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดี

-มะเขือเทศ โดยเฉพาะมะเขือเทศสุก เพราะการปรุงอาหาร เช่น มะเขือเทศในซอสสปาเกตตี้และพิซซ่า จะมีไลโคฟีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลงได้
-องุ่นแดง เช่นเดียวกับไวน์แดง โพลีฟีนอล ในองุ่นแดงจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและมะเร็ง
-หอมหัวใหญ่ ไม่ว่าจะสุกหรือดิบก็ตามในหัวหอมใหญ่ก็จะอุดมไปด้วย วิตามินซี ที่จะช่วยระบายท้อง และยังมีโฟแลตอีกด้วย
-เนื้อแดงไม่ติดมัน เพราะจะอุดมไปด้วยโปรตีน และธาตุเหล็กที่จะช่วยบำรุงเลือดและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กับร่างกาย
-ถั่ววอลนัท เพราะถั่ววอลนัท อุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเมก้า 3 และไฟเบอร์ที่จะช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงสมอง และยังทำให้ขับถ่ายได้ดีอีกด้วย
-ดาร์ค ช็อกโกแลต ก็คือ ช็อกโกแลตที่เข้มจนออกจะขม (ไม่ใช่ช็อกโกแลตนมสำหรับเด็ก) เพราะในดาร์ค ช็อกโกแลต จะมีฟลาโวนอยด์ และไฟโตสเตอรอล ที่จะช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด และช่วยป้องกันโรคหัวใจ

ที่มา : Spicy

2008-12-15

สารอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน

สารอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน

ถ้ามีภูมิคุ้มกันสูง ร่างกายเราก็จะเหมือนมีกองทัพไว้ปราบเชื้อโรคได้มาก อย่างนี้เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นอันว่าไม่ต้องพูดถึง

-วิตามินเอ ช่วยผลิตเมล็ดเลือดขาว สร้างเซลล์บุเนื้อเยื่อในระบบย่อย ซึ่งเซลล์เหล่านี้เป็นด่านแรกในการป้องกันการติดเชื้อ
- วิตามินซี ช่วยเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเชื้อโรค
-วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันระบบภูมิคุ้มกันจากอนุมูลอิสระ และอาจช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวในการป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
- ธาตุเหล็ก ช่วยในการฆ่าเชื้อ หากขาดธาตุเหล็กจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย
-สังกะสี จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อรา พยาธิ และเชื้อโรค

อื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

ที่มา : Spicy

2008-12-10

แตงกวาสำหรับสาวตาบวม

แตงกวาสำหรับสาวตาบวม

เคยได้ยินกันมานานแล้วใช่ไหมคะ ว่าคนนิยมอาแตงกวาฝานมาพอกหน้า ทั้งนี้ก็เพราะแตงกวามีสารที่ช่วยยับยั้งการอักเสบและช่วยลดอาการบวมแดงของดวงตาได้ ให้สาว ๆ ฝานแตงกวาที่ล้างสะอาดแล้วออกบาง ๆ นำมาวางไว้บนเปลือกตา นอกจากนี้ยังสามารถเอาแตงกวาฝานที่เหลือมาแปะไว้บนใบหน้าได้ด้วยล่ะวางทิ้งไว้สัก 15 นาที เปิดเพลงฟังไปพลาง ๆ หลังจากนั้นให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า และทา มอยเจอร์ไรส์เซอร์ เพื่อการบำรุงและกักเก็บความชุ่มชื้นด้วยค่ะ

ที่มา : Spicy

2008-12-03

มะนาวลดกลิ่นไหม้

มะนาวลดกลิ่นไหม้

ฝานมะนาวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่กระทะต้มพอเดือด ทำให้กลิ่นหอมระเหยของมะนาวฟุ้งกระจายไปทั่ว ช่วยดับกลิ่นไหม้

กำจัดกลิ่นเหม็นจากถังขยะจากเปลือกผักและผลไม้

กลิ่นเหม็นจากถังขยะมีวิธีแก้ดังนี้ ถ้าวันนี้คุณกินส้มโอ ส้มเขียวหวาน หรือแม้แต่ใช้มะนาวทำอาหาร เปลือกผักและผลไม้เหล่านี้ช่วยได้ค่ะ เพียงนำเปลือกผักและผลไม้เหล่านี้ไปใส่ไว้ในถังขยะ จะช่วยให้กลิ่นเหม็นเน่าลดน้อยลง

ที่มา : ชีวจิต

2008-12-01

หอมจับมือกระเทียมปราบมะเร็ง

หอมจับมือกระเทียมปราบมะเร็ง

คงได้ยินกันมานักต่อนักแล้วใช่ไหมคะว่า การกินผักผลไม้ช่วยป้องกันโรคนั้นโรคนี้ได้ เอาเป้นว่าคราวนี้เป็นตาของหอมกับกระเทียมจับมือกันเป็นพระเอกนางเอกบ้างแล้วกันค่ะ
ดร.คาร์ลอทเท กาลีโอเน จากสถาบันวิจัยเภสัชกรรมมารีโอ เนกรี เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี พบว่า คนสูงอายุที่กินหอมและกระเทียมเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อมะเร็งหลายชนิดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กินหอมและกระเทียม ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า สารประกอบกำมะถันในกระเทียมและสารพฤกษเคมี (ฟลาโวนอยด์) ในหัวหอมน่าจะมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง
คนสูงอายุที่กินหัวหอมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 7 หน่วยบริโภค (1 หน่วยบริโภคประมาณ 240 มิลลิลิตร หรือประมาณ 1 ทัพพี) มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง เช่น มะเร็งช่องปาก มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ ฯลฯ ลดลงมากกว่าครึ่ง
ส่วนคนสูงอายุที่กินกระเทียมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 7 หน่วยบริโภค มีความเสี่ยงต่อมะเร็งต่าง ๆ ลดลงมากกว่า 1 ใน 4
นอกจากนี้จะกินหอมและกระเทียมแล้ว อย่าลืมกินผักและผลไม้อย่างอื่นให้หลากหลายด้วนนะคะ จะได้ช่วยป้องกันสารพัดโรคที่รอเล่นงานยามร่างกายอ่อนแอด้วยค่ะ

ที่มา : ชีวจิต